เมนู

ฯลฯ เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง 6 เท่านั้น ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยใน
ฐานะ 6 นี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย
แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น อริยสาวกนี้
เราตถาคตเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ เหตุสูตร

7. อรรถกถาเหตุสูตรที่ 7



บทว่า ปจฺจโย ในบทนี้ว่า นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย เป็นไวพจน์
ของเหตุนั่นเอง.
อเหตุกวาทีบุคคล พากันปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมองแห่ง
สังกิเลสธรรมทั้งหลาย มีกายทุจริตเป็นต้น และปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์
แห่งโวทานธรรมทั้งหลาย มีกายสุจริตเป็นต้น ด้วยบททั้งสอง (นตฺถิ
เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย).

สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ดำรงอยู่ในพลังของตนอันใด แล้วจึงบรรลุ
ถึงความเป็นเทวดาบ้าง ความเป็นมารบ้าง ความเป็นพรหมบ้าง
สาวกโพธิญาณบ้าง พระสัพพัญญุตญาณบ้าง อเหตุกวาทีบุคคล
ปฏิเสธพลังนั้น ด้วยบทว่า นตฺถิ พลํ.
บทอื่นทั้งหมดมีอาทิคือ นตฺถิ วิริยํ เป็นไวพจน์ของกันและกัน
ทั้งนั้น แต่บทเหล่านี้ที่จัดแยกกันไว้ต่างหาก ก็โดยจะปฏิเสธคำพูดที่
เป็นไปอย่างนี้ว่า ผลนี้พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรนั้น ผลนี้พึงบรรลุด้วย

เรี่ยวแรงของบุรุษ ผลนี้พึงบรรลุด้วยความบากบั่นของบุรุษ.
อเหตุกวาทีบุคคล หมายถึงสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหลือหลอ มี อูฐ
โค และฬาเป็นต้น ด้วยบทว่า สพฺเพ สตฺตา.
อเหตุกวาทีบุคคล กล่าวว่า สพฺเพ ปาณา ด้วยอำนาจจุดมุ่งหมาย
มีอาทิคือ สัตว์มีอินทรีย์อย่างเดียวกัน.
อเหตุกวาทีบุคคล กล่าวว่า สพฺเพ ภูตา หมายเอาสัตว์ทั้งหลายที่
เกิดแล้วในกระเปาะฟองไข่ และมดลูก.
อเหตุกวาทีบุคคล กล่าวว่า สพฺเพ ชีวา หมายเอา พืชทั้งหลาย
มีข้าวสาลี ข้าวเหนียว และข้าวละมานเป็นต้น
อธิบายว่า ในสิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้น พืชเหล่านั้นที่สำคัญกันว่า
เป็นชีวะ เพราะความที่มันงอกขึ้นได้.
บทว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า สิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้น
ไม่มีอำนาจ พลัง หรือ วิริยะของตนเอง.
ในบทว่า นิจติสงฺคติภาวปริณตา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิยติ ได้แก่ ความเป็นผู้มีโชคดีและโชคร้าย.
บทว่า สงฺคติ ได้แก่ การไปในอภิชาติ (กำเนิด) นั้นๆ บรรดา
อภิชาติ 6 อย่าง.
บทว่า ภาโว ได้แก่ สภาวะนั่นเอง.
สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย แปรปรวนไป คือถึงภาวะนานาประการ
ตามสภาพแห่งความมีโชคดี และโชคร้าย และสภาพแห่งการไป
(ในอภิชาติต่างๆ). แท้จริง อเหตุกวาทีบุคคลแสดงว่า ผู้ใดจะต้องเป็นไป
อย่างใด ผู้นั้นก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้นทีเดียว (แต่) ผู้ใดจะไม่เป็นไป

อย่างใด ผู้นั้นก็จะไม่เป็นอย่างนั้น แน่นอน.
ด้วยบทวา ฉเสฺววาภิชาตีสุ อเหตุกวาทีบุคคลแสดงว่า สิ่งที่มี
ชีวิตทั้งหลาย ดำรงชีวิต เสวยสุขและทุกข์อยู่ในอภิชาติ 6 เท่านั้น
ไม่มีถูมิสำหรับเสวยสุขและทุกข์แห่งอื่น.
จบ อรรถกถาเหตุสูตร

8. มหาทิฏฐิสูตร



ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ



[431] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอัน
ใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีแบบอย่างอันใครเนรมิต เป็นสภาพไม่มีผล
ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ 7 กองนั้น
ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันแลกัน ไม่อาจให้เกิดสุข
หรือทุกข์แก่กันแลกัน สภาวะ 7 กองเป็นไฉน ?
ได้แก่ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะ. สภาวะ
7 กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มี
แบบอย่างอันใครเนรมิต เป็นหมัน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสา
ระเนียด สภาวะ 7 กองนั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียน
กันแลกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันแลกัน แม้ผู้ใดจะเอาศัสตรา
อย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร เป็นแต่ศัสตราสอดเข้า
ไปตามช่อง ระหว่างสภาวะ 7 กอง เท่านั้น อนึ่ง กำเนิดที่สำคัญมี
1,406,600 กำเนิด, 500 กรรม, 5 กรรม, 3 กรรม, กรรมสมบูรณ์,